ทำไมการดื้อยาถึงเสี่ยงได้กับทุกคน ทุกช่วงอายุ
Posted 2020-08-03 Read 1748
“ยาปฏิชีวนะจะให้ผลในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี เช่น โรคปอดบวม กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อที่ไต การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น แต่คนไทยมีความเข้าใจผิดในการใช้ยา ซึ่งการเจ็บป่วยด้วยอากาเพียงเล็กน้อย เช่น อาการโรคหวัด เจ็บคอ ไอ จามสามารถหายได้เองถ้าไม่มีอาการติดเชื้อเพิ่ม ยาปฏิชีวนะไม่มีผลต่อการดำเนินการของโรคแต่อย่างใด และการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อยังเพิ่มโอกาสให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย” ผศ.นพ.พิสนธิ์ กล่าว
สำหรับ 10 พฤติกรรม ต้นเหตุเชื้อดื้อยา ได้แก่
1.เคยซื้อยาต้านแบคทีเรียกินตามคนอื่น
การซื้อยาต้านแบคทีเรียมารับประทานเองอาจได้ยาที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคนั้นได้ และส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้
2. เคยหยุดรับประทานยาต้านแบคทีเรียเมื่ออาการดีขึ้น
ยาต้านแบคทีเรีย ต้องรับประทานติดต่อตามที่กำหนด หากหยุดรับประทานอาจมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่และเชื้อโรคจะพัฒนาตัวเองไปสู่การดื้อยาได้
3. เคยซื้อยาต้านแบคทีเรียกินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ ในครั้งก่อนๆ
ยาต้านแบคทีเรียจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคแต่ละชนิดต่างกัน การใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่เลือกให้เหมาะกับชนิดเชื้อโรค นอกจากจะทำให้ไม่หายแล้ว ยังส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้
4. ยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย
การใช้ยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย นอกจากจะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นการใช้ยาที่เกินความจำเป็น และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
5. เปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรียชนิดที่แรงกว่าด้วยตนเอง
การใช้ยาต้านแบคทีเรียฆ่าเชื้อโรค ต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม บางครั้งอาการเจ็บป่วยต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรอาการถึงจะดีขึ้น การเปลี่ยนตัวยาที่แรงขึ้น อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
6. เอายาต้านแบคทีเรียโรยแผล
นอกจากจะเป็นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังทำให้แผลสกปรกและเสี่ยงต่อการเกิดอาการแผลอักเสบลุกลามได้ เพราะผงในแคปซูลไม่ได้มีแต่ตัวยาเท่นั้น ยังมีผงแป้งผสมอยู่ด้วย และอาจทำให้เชื้อโรคที่แผลพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้
7.ใช้ยาต้านแบคทีเรียผสมในอาหารสัตว์
เป็นการใช้ยาที่ผิด และอาจไม่ได้ผลอีกด้วย เนื่องจากขนาดยาที่ไม่แน่นอน นอกจากนี้อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้
8.ใช้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่ทราบชื่อสามัญของยา
นอกจากจะเสี่ยงที่จะได้รับยาที่เคยแพ้แล้ว อาจได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อโรค
9.เคยไปซื้อยาแก้อักเสบกินเอง
อาการอักเสบตามความเข้าใจของคนทั่วไปมีหลายแบบ เช่น อาการปวดอักเสบจากแผลหนอง อักเสบเจ็บคอ หรืออักเสบจากการปวด และไปซื้อยาแก้อักเสบกินเอง ทำให้อาจได้ยาต้านแบคทีเรียมาแทนยาแก้ปวดอักเสบ เป็นการใช้ยาแบบไม่จำเป็น
10. การไม่แนะนำคนที่ใช้ยาต้านแบคทีเรีย ใช้ยาอย่างเหมาะสม
การเพิกเฉยของเรา เท่ากับการปล่อยให้มีการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมขึ้นในสังคม สุดท้ายเมื่อเชื้อโรคพัฒนาตัวเองไปสู่เชื้อดื้อยา ปัญหาจะกลับมาส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว และผู้ป่วยคนอื่นๆ ในอนาคตได้
ข้อมูลจาก ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล ประธานคณะทำงานสร้างเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.)
10 พฤติกรรมอันตราย เสี่ยง “ดื้อยา”
ทำไมการดื้อยาถึงเสี่ยงได้กับทุกคน ทุกช่วงอายุ ..
2020-08-03แพ้อากาศ ต่างจากโรคไข้หวัดอย่างไร
มั่นใจแค่ไหนว่าอาการที่เป็นอยู่คืออาการของหวัดหรือแพ้อากาศกันแน่..
2020-06-16แนะนำ 7 อาหารเสริมวิตามินและแร่ธาตุช่วยสิวยุบ หน้าใสขึ้น
สิว (Acne) เป็นการอักเสบของผิวหนังที่มีการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วบริเวณรูขุมขน..
2020-06-11..
..